ประวัติศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯ

(ปรับใหม่ 13 มิถุนายน 2562)


  03

  • ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่มีรูปแบบการบริหารงานสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และให้บริการแก่สังคม  อยู่ในกำกับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ในระยะแรกประมาณ พ.ศ.2510 ได้มีการก่อสร้างสนามกีฬา 3 สนาม คือ สนามเทนนิส สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสระว่ายน้ำ 50 เมตร(ปัจจุบันเป็นลานนันทนาการ) ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มอบหมายให้กองอาคารสถานที่เป็นผู้ดูแล
  • ในปี พ.ศ. 2522 มหาวิทยาลัยได้จัดการบริหารส่วนสถานกีฬารูปแบบใหม่ ไม่ได้อยู่ในความดูแลของกองอาคารสถานที่ เรียกว่า สนามกีฬาในร่ม  บริหารจัดการในส่วนสนามกีฬาในร่ม และสระว่ายน้ำ 25 เมตร ขนาด 2 ไร่ ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น
  • จากนั้นปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยได้ยกระดับการบริหาร สนามกีฬาในร่ม จัดตั้งเป็น สำนักกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ให้บริหารจัดการสนามกีฬาทั้ง 5 สนาม ได้แก่  คือ สนามกีฬาในร่ม และสระว่ายน้ำ 25 เมตร  สนามเทนนิส สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสระว่ายน้ำ 50 เมตร
  • จวบจนกระทั่งวันที่ 28 มิถุนายน 2539 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 563 มีมติให้ปรับฐานะจาก สำนักกีฬามาเป็น “ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยมีการบริหารจัดการในรูปแบบของวิสาหกิจที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไร แต่ให้สามารถพึ่งตนเองได้ และได้เริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 เป็นต้นมา
  • ต่อมา เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มอบพื้นที่ให้ดูแลอีกแห่งหนึ่ง คือ สนามกีฬาในร่ม 2 ซึ่งประกอบด้วย อาคาร Fitness Center(ภาควิชาพลศึกษาเดิม)และสนามแบดมินตัน
  • พ.ศ.2554 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มอบ อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน(Sports Complex)
  • ในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มอบหมายอาคารยิมส์เนเซี่ยมจันทนยิ่งยง และสนามจินดารักษ์ ให้ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาฯดูแลเพิ่ม
  • ปัจจุบันศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสนามกีฬาที่อยู่ในความดูแลดังนี้ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนามกีฬาในร่ม อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ 25 และสนามกีฬาในร่ม 2 อาคารจันทนยิ่งยง และสนามจินดารักษ์ และปรับสถานะเป็นงานสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และให้บริการแก่สังคมภายใต้การกำกับโดยคณะกรรมการบริหารศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์

  • ส่งเสริมการเล่นกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายให้เป็นวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ
  • เพิ่มศักยภาพการจัดการอาคารสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการกีฬาของมหาวิทยาลัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • พัฒนากิจกรรมกีฬาและนันทนาการรวมทั้งส่งเสริมการศึกษา โดยนำเทคโนโลยีด้านการกีฬาที่ทันสมัยช่วยจัดบริการในรูปแบบต่างๆ
  • ปรับประสิทธิภาพการบริหาร โดยเฉพาะการแสวงหาความสนับสนุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับกีฬา และนันทนาการให้เพียงพอต่อการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ

DSC_6905     DSC_6713


ปรัชญา

“นิสิต คณาจารย์ บุคลากร มีสุขภาพแข็งแรง และบริการสังคม”

33194654_606096729753895_2683043912074919936_n    IMG_5139


วิสัยทัศน์

“บริการสนับสนุน ส่งเสริม และจัดกิจกรรม แก่นิสิต บุคลากรและสังคม”

DSC_4947     DSC_2586

DSC_4888     DSC_0897